เกษตรที่สูงตาก ส่งมอบกล้าพันธุ์หญ้าแฝก จำนวน 20,000 กล้า ให้แก่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงหลวงผาผึ้ง-ศรีคีรีรักษ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

วันที่ 19 สิงหาคม 2566
เกษตรที่สูงตาก ส่งมอบกล้าพันธุ์หญ้าแฝก จำนวน 20,000 กล้า ให้แก่
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงหลวงผาผึ้ง-ศรีคีรีรักษ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก
โดย นายธนากร โปทิกำชัยผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก (เกษตรที่สูง)
นายโชคชัย แซ่มี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
นางสาวพิราวรรณ จานิมิตร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
นายจิรเดช ศรีวิลัย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
และ นางสาวจุรีพร เพียรทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้ส่งมอบในครั้งนี้
โดยมี นายทองสุข จรุงไทยศิลป์ เจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงผาผึ้ง-ศรีคีรีรักษ์ ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก เป็นผู้รับมอบ
เพื่อใช้ปลูกในพื้นที่โครงการและส่งมอบให้แก่เกษตรกรที่มีความต้องการปลูกในพื้นที่ในพื้นที่ลาดชันบนพื้นที่สูงต่อไป ตามวัตถุประสงค์โครงการส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อความยั่งยืนทางการเกษตร ปี 2566 ภายใต้โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พร้อมทั้งเยี่ยมชมแปลงเรียนรู้อะโวคาโด เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เรื่องการผลิตอะโวคาโด การดูแลรักษา การขยายพันธุ์ และการตลาด สำหรับนำไปพัฒนาอะโวคาโดคุณภาพในพื้นที่
โดยทางศูนย์ฯได้มอบต้นกล้าพันธุ์ดีและต้นกล้าพันธ์ุพื้นเมือง สำหรับนำไปปลูกเป็นต้นพ่อแม่พันธุ์เพื่อแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ต่อไป
****
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ภายใต้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มีภารกิจสำคัญในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของโครงการหลวง โดยมีแนวทางการพัฒนาครอบคลุมทั้งด้านบริบทของโลกและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งจะใช้พื้นที่ลุ่มน้ำเป็นขอบเขตในการจัดทำแผ่นแม่บทฯ เพื่อการพัฒนาที่เน้นความสมดุลในมิติทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนฐานข้อมูลการตัดสินใจที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน ตลอดจนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและการพัฒนาองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง
โดย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก (เกษตรที่สูง) กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานร่วมบูรณาการในการส่งเสริมการเกษตรให้แก่เกษตรกรในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงผาผึ้ง-ศรีคีรีรักษ์ โดยวิธีการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีการผลิตด้านการเกษตรที่เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่และชุมชน การสร้างเกษตรกรต้นแบบ รวมทั้งมีการส่งเสริมการทำการเกษตรบนพื้นที่สูง และสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่จำเป็นให้แก่เกษตรกรเป้าหมาย เพื่อให้เกษตรกรชุมชนเป้าหมายบนพื้นที่สูงมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความมั่นคงทางอาหาร มีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน พร้อมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการทำการเกษตรของตนเองและการดำเนินชีวิตต่อไป

You may also like...