เกษตรที่สูงตาก จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ปี 2568 ณ บ้านร่มเกล้าสหมิตร ตำบลคีรีราษฏร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

นางสาวพรชนก พุทธวงค์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และ นางสาวจุรีพร เพียรทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จัดกิจกรรมในครั้งนี้
โดยมี นายเฉลิม สถิตอนันต์ เจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงพบพระ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
เจ้าหน้าที่มูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาไทย – ญี่ปุ่น และเกษตรกรบ้านร่มเกล้าสหมิตร ตำบลคีรีราษฏร์ อำเภอพบพระ ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีด้านการผลิต และการบริหารจัดการไม้ผลอะโวคาโด มะคาเดเมีย ททเรียน และกาแฟ บนพื้นที่สูง เช่น การคัดเลือกเมล็ดและต้นพันธุ์ที่แข็งแรง วิธีการปลูก การดูแลบำรุงรักษาต้นพันธุ์ การจัดการแปลง เทคนิคการขยายพันธุ์ ตลอดจนการสร้างการรับรู้ และความเข้าใจในการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการทำการเกษตรของตนเองและการดำเนินชีวิตได้จริง และเพื่อให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงมีอาหารบริโภคในครัวเรือนอย่างเพียงพอ มีความมั่นคง ทางอาหารและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ณ บ้านร่มเกล้าสหมิตร ตำบลคีรีราษฏร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงมีพื้นที่ดำเนินการในจังหวัดตาก ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่า เช่น กระเหรี่ยง มูเซอ ม้ง ฯลฯ ดำเนินงาน ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง และหน่วยงานภาคี ที่เกี่ยวข้อง มุ่งในการศึกษาวิจัย พัฒนา และการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีบนพื้นที่สูงที่เหมาะสม สู่ชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางของโครงการหลวงโดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานร่วมบูรณาการขับเคลื่อนโครงการฯ ในพื้นที่เป้าหมาย โดยได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่สูงตามแนวทางโครงการหลวงและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาส่งเสริมอาชีพและการตลาด ภายใต้มาตรฐานอาหารปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่มี การวิเคราะห์ พื้นที่ สินค้า คน ที่มาจากปัญหา ความต้องการ และสภาพภูมิสังคมภายใต้การมีส่วนร่วม ของชุมชน ขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมของโครงการหลวง
โดยศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก (เกษตรที่สูง) กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานร่วมบูรณาการขับเคลื่อนโครงการฯ ในพื้นที่จังหวัดตาก และจังหวัดกำแพงเพชร โดยได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาส่งเสริมอาชีพและการตลาด ภายใต้มาตรฐานอาหารปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มี การวิเคราะห์พื้นที่ คน สินค้า จากปัญหาความต้องการ และสภาพภูมิสังคมภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน ขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้สมัยใหม่ เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตและประสิทธิภาพการผลิต สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้งการสร้าง มูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร ส่งผลให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงมีอาหารบริโภคในครัวเรือนอย่างเพียงพอ มีความ มั่นคงด้านอาหาร มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน









































