เกษตรที่สูงตาก ร่วมกับกลุ่มกัญชงพบพระบ้านเสริมสุข ทำการตัดต้นกัญชงในแปลงเรียนรู้การปลูกกัญชงภายในศูนย์ฯ

วันที่ 21 สิงหาคม 2566
เกษตรที่สูงตาก ร่วมกับกลุ่มกัญชงพบพระบ้านเสริมสุข ทำการตัดต้นกัญชงในแปลงเรียนรู้การปลูกกัญชงภายในศูนย์ฯ
โดย นายธนากร โปทิกำชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก (เกษตรที่สูง)
มอบหมาย นางสาวพิราวรรณ จานิมิตร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
ร่วมกับ กลุ่มกัญชงพบพระบ้านเสริมสุข
ทำการตัดต้นกัญชง สำหรับนำไปลอกเปลือก เพื่อผลิตเป็นผ้าใยกัญชงต่อไป
ในแปลงเรียนรู้การปลูกกัญชง ภายใต้โครงการพัฒนาเฮมพ์บนพื้นที่สูงภาคเหนือ ปี 2566
***********
เฮมพ์ (Hemp) หรือกัญชง เป็นพืชที่มีศักยภาพในการพัฒนาและผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่มีจุดเด่นที่เป็นข้อได้เปรียบได้แก่ เป็นพืชในท้องถิ่นที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี ต้องการการดูแลรักษาน้อยเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น
เฮมพ์เป็นพืชที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมของชนเผ่าม้งโดยชนเผ่าม้งมีการปลูกและแปรรูปให้เป็นเส้นใย เพื่อทำเสื้อผ้าสำหรับใช้ในพิธีกรรมต่างๆเช่น งานแต่งงาน งานปีใหม่ งานศพ เป็นต้น ดังนั้นแล้วชาวม้ง จะมีความชำนาญในการผลิตและแปรรูปให้ เฮมพ์ เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งในอำเภอพบพระนั้นประกอบไปด้วยชนเผ่าม้งเป็นประชากรส่วนมาก เดิมเฮมพ์นั้นมีลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติคล้ายกัญชามากจนยากที่จะแยกออกจากกันได้ ทำให้เฮมพ์ถูกจัดเป็นพืชเสพติดประเภทที่ 5 ไม่สามารถปลูกหรือจำหน่ายได้และในปัจจุบันทางภาครัฐเล็งเห็นถึงศักยภาพของเฮมพ์ จึงได้ทำการถอดถอนจากการเป็นพืชเสพติด แต่ให้ปลูกภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการแห่งชาติแทน เปิดโอกาสให้เกษตรกรสามารถผลิตและขายได้เพิ่มคุณค่าในทางเศรษฐกิจ เฮมพ์นั้นเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์มากมาย เปลือกสามารถใช้ทําเป็นเส้นใย โดยเส้นใยที่ผลิตจากเฮมพ์นั้น มีความยืดหยุ่นแข็งแรงระบายอากาศและน้ำได้ดี เสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยของเฮมพ์นั้นมีคุณสมบัติที่สวมใส่สบายในฤดูร้อน และรู้สึกอบอุ่นในฤดูหนาว ส่วนเมล็ดของเฮมพ์นั้นประกอบด้วยโปรตีนที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง น้ำมันในเมล็ดยังประกอบด้วยสารต่าง ๆ เช่น OMEGA3, CBD เป็นต้นที่สามารถผลิตเป็นยาได้
ดังนั้นแล้วจึงได้ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก (เกษตรที่สูง) จึงได้ศึกษาองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกี่ยวกับเฮมพ์ โดยจัดทำแปลงเรียนรู้ภายในศูนย์ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกได้มีองค์ความรู้ในการผลิตและแปรรูปเฮมพ์ให้ได้คุณภาพแก่เกษตรกร รวมถึงผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกเฮมพ์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้สามารถแข่งขันได้ เพิ่มรายได้และความอยู่ดีกินดีแก่เกษตรกรผู้ปลูกในพื้นที่

You may also like...