เกษตรที่สูงตาก ร่วมกิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่ โครงการพัฒนาพื้นที่โครงการหลวง ปี 2567

เกษตรที่สูงตาก ร่วมกิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่ โครงการพัฒนาพื้นที่โครงการหลวง ปี 2567
โดย นายธนากร โปทิกำชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก (เกษตรที่สูง)
นายโชคชัย แซ่มี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
นางสาวจุรีพร เพียรทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร
และนางสาวสุวรรณี ธรรมอมรศิริ เจ้าพนักงานธุรการ ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
โดยมี นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดงาน
พร้อมด้วยนายกิตติพันธ์ จันทาศรี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร
นางสาวนันทวัน ทองเบญญ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาพื้นที่พิเศษ ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้นั้น มีประเด็นเกี่ยวกับ
การนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่อง “การขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาบนพื้นที่สูง” ระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) กับกรมส่งเสริมการเกษตร โดย นายวุฒิฉัตร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) และ นายเดชธพล กล่อมจอหอ ผู้จัดการโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการ หลวงกลุ่ม 4 ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นผู้บรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้
จากนั้น ได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่อง “การพัฒนาพืชเด่นของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (เกษตรที่สูง)” เพื่อเป็นแปลงทดสอบเรียนรู้และส่งเสริมให้แก่เกษตรกร ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่โครงการหลวง และโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง โดย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (เกษตรที่สูง) ทั้ง 8 แห่ง ประกอบไปด้วย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ,เชียงใหม่ ,เชียงราย ,พะเยา ,ลำพูน ,เลย ,กาญจนบุรี และตาก ซึ่งการพัฒนาพืชเด่นของศูนย์ฯ ประกอบไปด้วยพืช กาแฟ เสาวรส มะคาเดเมีย และอะโวคาโด
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก (เกษตรที่สูง) มีการพัฒนาพืชเด่นของศูนย์ฯ เพื่อเป็นแปลงทดสอบเรียนรู้และส่งเสริมให้แก่เกษตรกร ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่โครงการหลวง และโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง โดยได้มีการปฏิบัติงานดังนี้
1. การสนับสนุนงานโครงการหลวง เพื่อยกระดับเป็นต้นแบบเกษตรกร และเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน
– โดยมีการพัฒนาอาชีพบนฐานความรู้ให้แก่เกษตรกรแล้ว จำนวน 1,090 ราย
– มีการส่งเสริมการปลูกพืชตามความเหมาะสมของพื้นที่ จำนวน 127 ไร่ 26 ราย พืชหลัก เช่น อะโวคาโด มะม่วง มะคาเดเมีย พืชรอง เช่น กาแฟ พืชเสริม เช่น พืชผัก ถั่วแดง โดยมีแผนการปลูกตามระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล
– การพัฒนาผู้นำชุมชน เยาวชน ให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (เกษตรกรต้นแบบ) จำนวน 13 ราย
– และการสร้างแปลงเรียนรู้ สาธิต ฝึกปฏิบัติภายในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ จำนวน 1 แห่ง
2. การสนับสนุน ส่งเสริม งานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
– โดยมีการพัฒนาอาชีพบนฐานความรู้ให้แก่เกษตรกรแล้ว จำนวน 1,010 ราย
– การส่งเสริมการปลูกพืชตามความเหมาะสมของพื้นที่ จำนวน 84 ไร่
– การพัฒนาผู้นำชุมชน เยาวชน ให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (เกษตรกรต้นแบบ) จำนวน 9 ราย
– และการสร้างแปลงเรียนรู้ สาธิต ฝึกปฏิบัติภายในพื้นที่ที่ทางศูนย์เข้าไปดำเนินโครงการ
ซึ่งมีการบูรณาการทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
3. การพัฒนาเทคโนโลยี Digital และการบริหารจัดการข้อมูล ด้วยการส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ “ระบบบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ” (HandySense) สู่แปลงเกษตรกร
4. การใช้กลยุทธ์ การสร้างรายได้จาการส่งเสริมการปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง และการสร้างแบรนด์สินค้าที่มาจากแปลงเกษตรปลอดการเผาถาวร เพื่อใช้แก้ปัญหาและความท้าท้าย ในเรื่องของการบุกรุกทำลายป่าเพื่อปลูกข้าวโพด การเกิดฝุ่น หมอกควัน การเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม และการลดพื้นที่การปลูกข้าวโพด โดยใช้ Model การปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ เลอตอโมเดล ห้วยน้ำเย็นโมเดล พร้อมจัดทำแปลงสาธิต แปลงทดสอบในพื้นที่ และการสร้างเกษตรกรต้นแบบ มาเป็นเครื่องมือการทำงาน
นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้มอบแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (เกษตรที่สูง) ในเรื่องของการใช้องค์ความรู้ การวิเคราะห์พื้นที่ คน สินค้า มาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ต้องมีความเข้าใจ และรู้ข้อมูลพื้นที่อย่างแท้จริง ควรส่งเสริมการปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ ตรงตามความต้องการของเกษตรกร สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” เกษตรกรมีการผลิตพืชที่สร้างรายได้รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี การนำนวัตกรรมเข้ามาส่งเสริม ทั้งก่อนการปลูก ระหว่างการปลูก การเก็บเกี่ยว และการแปรรูป ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่สอดคล้องกับค่าครองชีพ รวมถึงการปลูกฝังจิตสำนึกของเด็กและเยาวชนต่อการเกษตรที่ถูกต้องโดยการจัดกิจกรรมให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้และพัฒนา


























